ประเภทของเกลียว

Last updated: 24 มี.ค. 2558  |  52698 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ประเภทของเกลียว


ส่วนประกอบเกลียวของสกรู

 

ส่วนประกอบที่สำคัญของเกลียวที่เราควรรู้จักคือ "Pitch” (พิทช์)
พิทช์ คือระยะห่างระหว่างเกลียว หรือระยะห่างระหว่างยอดฟันเกลียวสองยอดที่อยู่ติดกันนั่นเอง

เราสามารถวัดขนาดเกลียวของสกรูโดยใช้ 2 ระบบ ใหญ่ๆ เช่นเดียวกับการเรียกขนาดของสกรูนั่นคือ
1. ระบบเมตริก (Metric) หรือ "เกลียวมิล" วัดจากระยะห่างระหว่างเกลียว (pitch) โดยใช้หน่วยเป็นมิลลิเมตร ระบบนี้เป็นระบบที่เข้าใจได้ง่าย
ซึ่งเราสามารถเอาไม้บรรทัดมาวัดระยะห่างของเกลียว และอ่านค่าได้ทันทีเลยค่ะ ว่าสกรูตัวนี้มีระยะห่างของเกลียวกี่มิล
 
2. ระบบอเมริกัน (Inches) หรือ “เกลียวหุน” จะวัดจากการนับจำนวนเกลียวได้กี่เกลียวในระยะหนึ่งนิ้ว
การวัดเกลียวแบบนี้มักจะเป็นปัญหากับผู้ที่ไม่คุ้นเคย เราสามารถเทียบขนาดจากนิ้วเป็นหุนได้ดังนี้ค่ะ
1/8" = 1 หุน
3/16" = หุนครึ่ง
1/4" = 2 หุน
5/16" = 2 หุนครึ่ง
3/8" = 3 หุน
7/16" = 3 หุนครึ่ง
1/2" = 4 หุน
9/16" = 4 หุนครึ่ง
5/8" = 5 หุน
11/16" = 5 หุนครึ่ง
3/4" = 6 หุน
13/16" = 6 หุนครึ่ง
7/8" = 7 หุน
15/16" =7 หุนครึ่ง
1” = 8 หุน

โดย ระยะพิทช์ของระบบเกลียวมิล และหุนนั้นไม่เท่ากัน การที่พิทช์ไม่ท่ากันนั้น ทำให้เกลียวไม่สามารถขันไปตามร่องเกลียวได้
จึงนับเป็นส่วนสำคัญที่เราจะต้องรู้ว่าสกรูที่เราจะใช้นั้นเป็นระบบมิล หรือหุน การที่เราจะรู้ว่าเกลียวของเรานั้นเป็นระบบไหน
วิธีทีที่ดีที่สุดก็คือการใช้หัวน็อตที่เราทราบระบบของเกลียว และมีขนาดเดียวกับเกลียวของเรามาขันกันดู
ถ้าขันกันเข้าก็แปลว่าเป็นเกลียวระบบเดียวกันกับหัวน็อตตัวนั้น แต่ถ้าขันไปแล้วติดก็แปลว่าเป็นคนละระบบกัน
แต่ถ้าไม่มีหัวน็อตให้ลอง อุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมในการวัดพิทช์ของเกลียวก็คือ หวีเกลียว (Pitch Gauge)
 
หาก หวีเกลียวเบอร์ไหนทาบลงบนเกลียวแล้วแนบสนิทพอดี ก็ถือว่าเกลียวนั้นมีระยะเกลียวตามที่ระบุไว้บนหวีเกลียวนั่นเอง
โดยหวีเกลียวนั้นจะแบ่งออกเป็นหวีเกลียวสำหรับมิล และหุน ทำให้เข้าใจได้ไม่ยากว่า เกลียวที่ทาบลงไปนั้นเป็นเกลียวระบบไหน

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้